เป็นแบบเสรีนิยมผสมสังคมนิยม
รัฐบาลมีบทบาทในอุตสาหกรรมและวิสาหกิจ เช่น การไฟฟ้า ธนาคาร
สาธารณูปโภคและอุตสาหกรรมหนัก ได้แก่ น้ำมัน เคมีภัณฑ์ รถยนต์ ออสเตรียเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว
เนื่องจากรายได้ประชากรเพิ่มมากขึ้นและเกิดจากกิจการของรัฐบาล
อุตสาหกรรมหลักของออสเตรีย คือ
เหมืองแร่และการท่องเที่ยว มีทรัพยากรน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ สังกะสี ตะกั่ว เหล็ก
ขุดได้จากเทือกเขาแอลป์
อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น การถลุงเหล็ก ซึ่งก้าวหน้าที่สุดในยุโรป
การท่องเที่ยว ใช้ประโยชน์จากดนตรีและมรดกทางวัฒนธรรม
เป็นตัวดึงดูดความสนใจจากนักท่องเที่ยวและยังพัฒนาทางด้านเกษตรกรรมและการเลี้ยงปศุสัตว์
ออสเตรียเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้มากมาย
เพราะมีเครื่องมือที่ก้าวหน้าและมีจำนวนมาก ส่วนการวิจัย
นักวิทยาศาสตร์ได้รับรางวัลโนเบลมากถึง 13 คน และเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ค.ศ.
1995และค.ศ. 1999 ได้เปลี่ยนสกุลเงินเป็นยูโร
สินค้านำเข้าสำคัญ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ กระจก แก้ว เครื่องเพชรพลอย อัญมณี
เงินแท่ง ทองคำและเคมีภัณฑ์
สินค้าส่งออกสำคัญ
อัญมณี เครื่องประดับ
เครื่องนุ่งห่ม เครื่องสำอาง สบู่ ผลิตภัณฑ์รักษาผิว รถยนต์และอุปกรณ์
ผลิตภัณฑ์ยาง
ความร่วมมือทางด้านการศึกษา
ไทยกับออสเตรียมีคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี และศิลปะระหว่างกัน โดยได้มีการดำเนินโครงการภายใต้กลไกนี้มาตั้งแต่ปี 2527 โดยทั้งสองฝ่ายได้ตกลงให้มีการประชุมคณะกรรมการร่วมฯ อย่างสม่ำเสมอ
โครงการที่สำคัญภายใต้ความร่วมมือนี้ ได้แก่
โครงการแลกเปลี่ยนนักวิทยาศาสตร์ระหว่างมหาวิทยาลัยไทยกับออสเตรีย
การให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาเอก รวมทั้ง ทุนฝึกอบรมและวิจัย
นอกจากนี้ ในระดับพหุภาคี
ไทยและออสเตรียเป็นสมาชิกเครือข่ายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในอาเซียนกับมหาวิทยาลัยในทวีปยุโรป
(ASEAN-European Academic University Network - ASEA-UNINET) ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2537 สมาชิกจัดตั้งฝ่ายเอเชียได้แก่
ไทย เวียดนาม และอินโดนีเซีย
โดยมีไทยเป็นศูนย์กลางของเครือข่ายประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จากผลการดำเนินการในลักษณะเครือข่ายดังกล่าว ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนด้านเทคโนโลยี
ทรัพยากร ความช่วยเหลือ และความร่วมมือทางวิชาการอย่างมีประสิทธิภาพและกว้างขวางในปี 2547 ไทยและออสเตรียได้ฉลองครบรอบ 20 ปี แห่งความร่วมมือด้านการศึกษา โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ เยือนออสเตรีย ระหว่างวันที่ 21 - 25 มีนาคม 2547 เพื่อทรงร่วมฉลองโอกาสดังกล่าว]
วัฒนธรรมของออสเตรีย
ด้านการรับประทานอาหาร ออสเตรียได้รับอิทธิพลจากหลายประเทศและหลายชนเผ่า เช่น เยอรมัน ฮังการี อิตาลี สตูเนื้อวัว ไส้กรอกล้วนได้รับอิทธิพลจากเยอรมันและฮังการี อาหารออสเตรียมีความหลากหลายแตกต่างกันตามท้องถิ่นที่ตั้ง นอกจากนี้ ออสเตรียเป็นประเทศที่ไม่ติดทะเลและมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ชาวออสเตรียจึงใช้ปลาแม่น้ำและสัตว์ป่ามาทำอาหาร นิยมใช้มีดและส้อมสำหรับรับประทานอาหาร มารยาทขณะรับประทานอาหารที่สำคัญเมื่อต้องรับประทานร่วมกับหลายๆคนคือ หลังจากที่ทุกคนนั่งลงและก่อนจะเริ่มรับประทานอาหาร ต้องพูดว่า มาลไซท์ (Mahlzeit) ซึ่งแปลว่า จะรับประทานแล้ว
การรับประทานอาหารของออสเตรียจะเริ่มจากการรับประทานซุป ซึ่งต่างจากฝรั่งเศสและอิตาลีที่เริ่มจากสลัดเพื่อเรียกน้ำย่อยก่อน จากนั้นนิยมรับประทานมันบดผสมแป้ง (dumpling) หรือซุปเนื้อหมู และตามด้วยขนมปัง ซึ่งแต่ละท้องถิ่นมีขนมปังหลากหลายประเภท อาหารจานหลักที่ชาวออสเตรียนิยมรับประทานคือ เนื้อสัตว์ โดยนำมาต้มหรือย่าง ส่วนผักและผลไม้มักปลอกเปลือกก่อนรับประทาน อาหารที่เป็นที่รู้จักกัน เช่น หมูชุบแป้งทอด (pork cutlet) ที่คลุกกับเกล็ดขนมปังและเนื้อทอดแบบเวียนนา (wiener schnitzel) ซึ่งขึ้นชื่อมาก โดยทำจากเนื้อสันลูกวัวชิ้นใหญ่ทุบจนบาง นอกจากนี้ เนื้อสันสะโพกวัวไม่ติดมันต้ม (tafelspitz) ที่เวียนนา เป็นอาหารพื้นเมืองที่นำเนื้อแล่บางๆมาต้ม
ส่วนของว่างของออสเตรีย จะมีการดื่มชาหรือกาแฟพร้อมกับรับประทานเค้ก กาแฟที่รู้จักกันในชื่อ กาแฟเวียนนา หรือ กาแฟเมลังเงอ ที่ใส่นมในปริมาณเท่ากับกาแฟ ในบรรดาของว่างที่นิยมรับประทานพร้อมกาแฟคือ เค้กช็อกโกแลตไส้แยม (sacher torte) ซึ่งเป็นของว่างประจำประเทศด้วย นอกจากนี้ยังมีเค้กซุฟเฟลอ (soufflé) และ ขนมปังคล้ายเทือกเขาแอลป์ (salzburger nockerln)
BY SYSP 4/8"36
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น