ประวัติศาสตร์ออสเตรีย 2
ยุคสงครามกับโปเลียนจนถึงยุคระบอบประชาธิปไตยคู่
จักรพรรดิฟรานซิสที่
2 แห่งจักรวรรดิโรมัน ต่อต้านการปฏิวัติฝรั่งเศส เกิดสงครามนโปเลียน
ผลการะทบคือการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน ภายหลังการประชุมที่เวียนนา
ฝรั่งเศสได้คืนอาณาเขตกลับคืนและกำหนดชายแดนอย่างชัดเจน แต่ออสเตรียเริ่มอ่อนแอ
จากการทำสงครามกับปรัสเซีย จักรพรรดิฟรานซิสโจเซฟที่ 1
ได้ยุบจักรวรรดิออสเตรียและเบลี่ยนมาใช้ระบอบประชาธิปไตยคู่
โดยตั้งจักรวรรดิออสเตรีย – ฮังการี เมื่อปี ค.ศ. 1867
ประเทศออสเตรียหลังได้รับอิสรภาพ
ค.ศ.
1955 เข้าสู่ยุคสงครามเย็นระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต
ออสเตรียไม่ได้เข้าร่วม แต่เป็นกลาง
ตามเงื่อนไขการลาออกจากตำแหน่งการปกครองของราชวงศ์ฮับส์บูร์ก ออสเตรียจึงกลายเป็น
สาธารณรัฐออสเตรียอีกครั้งและเข้าร่วมองค์การสหประชาชาติเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ.
1955 ปี ค.ศ. 1966 พรรคสังคมนิยมออสเตรีย ควบคุม ดูแลเศรษฐกิจและขับไล่นาซี
จึงส่งผลให้ออสเตรีย ซึ่งเคยเป็นประเทศที่พ่ายแพ้สงครามโลกถึง 2 ครั้ง
เปลี่ยนรูปแบบการปกครอง ในปัจจุบัน วันที่ 26 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันชาติของออสเตรีย
ระบบการเมืองและระบบสังคมของออสเตรีย
ออสเตรียปกครองด้วยระบบประชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญ
หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 ก็เริ่มสั่งคลอน เนื่องจากเยอรมันหนีเข้ามาแทรกแซง
ต่อมาเยอรมันพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ออสเตรียประกาศตัวเป็นกลาง ไม่อยู่ภายใต้เงาของสหภาพโซเวียต
ทั้งยังกลับมาเป็นประเทศสาธารณรัฐ อำนาจภายในแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ตุลาการ
นิติบัญญัติและบริหาร ร่างรัฐธรรมนูญเมื่อปี ค.ศ. 1920 ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี
ส่วนประธานาธิบดีเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ดำรงตำแหน่งวาระละ 6 ปี
นายกรัฐมนตรีจากหัวหน้าพรรค ได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงข้างมาก
ทำหน้าที่บริหารประเทศ ส่วนรัฐสภา จะประกอบไปด้วยสภาล่าง มีสมาชิก 183 คน
ได้รับเลือกตั้งจากประชาชนทุกๆ 4 ปี
สภาล่างจะควบคุมนักการเมือง
รับผิดชอบสถาบันนิติบัญญัติในการร่างกฎหมายใหม่ ส่วนสภาสูง มีสมาชิก 62 คน เลือกตั้งจากสภาจังหวัด
จะพิจารณากฎหมายอีกครั้ง
ออสเตรียมีสถานะเป็นประเทศสหพันธรัฐ
แต่ละรัฐจะมีสภาและผู้ว่าการรัฐ
แต่การตัดสินใจต้องผ่านการเห็นชอบจากรัฐบาลและรัฐสภาก่อน พรรคการเมืองสำคัญได้แก่
พรรคสังคมประชาธิปไตย พรรคประชาชนออสเตรีย พรรคเสรีภาพแห่งออสเตรีย
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย คือ วันที่ 2 กรกฎาคม 2496
BY : SYSP 4/8"36
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น